เขียนเมื่อ: 21 March 2021
ตลาดหุ้นทั่วโลกยกเว้นจีนและญี่ปุ่นแกว่งตัวในกรอบแคบในสัปดาห์ที่ผ่านมา Dow Jones -0.5%, S&P500 -0.8%, NASDAQ -0.8%, EU STOXX 50 +0.1% (ยุโรป), CSI300 -3% (จีน), TOPIX +3% (ญี่ปุ่น), SET -0.3% แม้จะมีการปรับตัวบวกสั้นๆ หลังการประชุม Fed แต่ก็ติดลบกลับมาในวันศุกร์
ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นปิดที่ 1.73% ในวันศุกร์กดดันตลาดทุนต่อเนื่อง
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อกลางสัปดาห์ มีข้อสรุปคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายตามเดิม โดยยังไม่มีการเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย และยังไม่มีการเพิ่มเงินอุดหนุนมาตรการ QE อย่างมีนัยสำคัญ
การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันศุกร์ มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปเช่นเดียวกัน
การประชุมครั้งแรกของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนและสหรัฐฯ ในยุคประธานาธิบดีโจ ไบเดนเป็นไปอย่างตึงเครียด ทั้งการเรื่องการต่อรองนโยบายการค้า และประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีน
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี (10-Year Bond Yield) จะยังปรับตัวขึ้นได้จนถึง 2% เป็นปัจจัยกดดันหุ้น growth (tech ต่างๆ) ต่อไป ทำให้หุ้น value (ราคาถูก) เช่น กลุ่มธนาคาร พลังงานแบบเก่า ยังไปต่อได้ในระยะสั้น/กลางกดดันให้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงรุนแรงในวันศุกร์
ความน่าสนใจของหุ้นกลุ่ม value ทำให้ช่วงนี้หุ้นยุโรปดูแกร่งกว่าหุ้นสหรัฐฯ เพราะถูกกว่าเมื่อเทียบ PE ระหว่าง MSCI Europe กับ S&P 500 เนื่องจากตลาดยุโรปมีหุ้นวัฏจักร (Cyclical Sector) เป็นสัดส่วนมากกว่า ซึ่งดูน่าสนใจขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว เงินเฟ้อกำลังกลับมา และอยู่ในช่วงขาขึ้นของ Bond Yield
หุ้นจีน a-shares ปรับตัวลงมาแล้วเกือบ -15% จากจุดสูงสุด 10 ก.พ. แต่ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจจีนเติบโตดี จนรัฐบาลต้องลดเป้า GDP เพื่อคุมเสถียรภาพ นักลงทุนระยะยาวที่เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตอย่างมั่นคงอาจพิจารณาเข้าสะสมในสัดส่วนที่พอเหมาะ
มุมมองนักลงทุนที่สรุปมาให้เป็นภาพรวมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ยังไม่มี Tactical Call เพื่อเก็งกำไรระยะสั้นจาก Finnomena แต่ท่านสามารถเลือกลงทุนเพิ่มเติมได้เองในแผน DIY หากท่านมีมุมมองที่ดีกับตลาดใดๆ
แนะนำใช้สัดส่วนการเก็งกำไรระยะสั้นไม่เกิน 10-15% ของพอร์ตรวม
ควรเน้นรักษาเป้าหมายผลตอบแทนคาดหวังระยะยาว โดยจัดการสมดุลพอร์ตให้เหมาะสม ระวังการขาดทุนจากการพยายามเก็งกำไรระยะสั้น