เขียนเมื่อ: 13 June 2021
ตลาดหุ้นชะลอความร้อนแรง แต่ยังมีแรงหนุนหุ้นจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร โดย Dow Jones -0.8%, S&P500 +0.41%, NASDAQ +1.85%, EU STOXX 600 +1.09% (ยุโรป), CSI300 -1.09% (จีน), TOPIX -0.26% (ญี่ปุ่น), SENSEX +0.72% (อินเดีย), VN100 -1.54% (เวียดนาม), SET +1.55%
ธนาคารโลก ปรับประมาณการเติบโต GDP โลกปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 5.6% จาก 4.1% สูงสุดในรอบเกือบ 50 ปี และเป็นการฟื้นตัวที่เร็วที่สุดจากวิกฤตเศรษฐกิจในรอบ 80 ปี โดยประเทศพัฒนาแล้วกลับมาเติบโตได้แข็งแกร่งกว่าเนื่องจากสามารถกระจายวัคซีนได้ดี รวมถึงมีมาตรการสนับสนุนทางการเงินที่สนับสุนการฟื้นตัว (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ดัชนีเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา (CPI, consumer-price index) เดือนพฤศภาคม ปรับตัวขึ้น 5% เทียบกับปีที่แล้ว (YoY) สูงสุดตั้งแต่ปี 2008 และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าค่าเงินเฟ้อที่สูงในรายงานนั้นเป็นสิ่งชั่วคราว เนื่องจากราคาสินค้าทั่วไปไม่ได้ปรับตัวขึ้นสูงนัก ปัจจัยหลักมาจากการปรับราคาสินค้าในบางภาคธุรกิจที่ได้รับผลหนักจาก Covid เช่น ราคารถยนต์และระบรรทุกมือสอง (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (Fed, the Federal Reserve) ยังคงดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการทำ QE อย่างต่อเนื่อง ทำให้งบดุลของ Fed ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 8 ล้านล้าน USD (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ฝั่งธนาคารกลางยุโรป (ECB, European Central Bank) ก็ออกมาประกาศ คงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำจนกว่าจะเห็นอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียง 2% โดยปัจจุบันมีการคาดการณ์เงินเฟ้อสิ้นปี 2021 ที่ 1.9% นอกจากนั้นยังประกาศดำเนินการซื้อสินทรัพย์ลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ภายในวงเงิน 1.85 ล้านล้าน Euro จนถึงเดือนมีนาคม 2022 (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) ได้แก่ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา อิตาลี และ ญี่ปุ่น ประกาศร่วมเสนอให้มีการปฏิรูประบบภาษีเพื่อให้เหมาะสมกับโลกยุคในปัจจุบัน หลังที่ผ่านมาบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่หลายแห่งมีการจัดการบัญชี เพื่อให้ไปเสียภาษีในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ โดยข้อเสนอของกลุ่ม G7 มี 2 หลักการ คือ 1) ให้ประเทศที่บริษัทข้ามชาตินั้น ทำธุรกิจอยู่เก็บภาษีอย่างน้อย 20% จากอัตรากำไร 10% 2) กำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลระดับโลกขั้นต่ำ (Global Minimum Corporate Tax Rate) ที่ 15% (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ประกาศให้ความช่วยเหลือด้านวัคซีน Covid ให้ประเทศที่ขาดแคลน รวมกันถึง 600 ล้านโดส โดยจะทยอยส่งมอบจนถึงกลางปี 2022 นอกจากนั้น ยังคาดการณ์ว่าจะมีประเทศในกลุ่ม G7 อื่นๆ ทยอยประกาศให้ความช่วยเหลือด้านวัคซีนแก่ประเทศอื่นๆ อีก (อ้างอิง1) โดยทางอเมริกานั้นจะบริจาควัคซีนไฟเซอร์ 500 ล้านโดสผ่านโครงการ COVAX เพิ่มเติม จากที่มีการประกาศก่อนหน้าว่าจะให้ความช่วยเหลือด้านวัคซีนรวม 80 ล้านโดส แก่ประเทศต่างๆ (อ้างอิง2)
ตลาดเวียดนามย่อตัวแรงต้นสัปดาห์ แต่มีแรงซื้อกลับอย่างรวดเร็ว (อ้างอิง1) โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเป็นผลต่อเนื่องจากปัญหาการรองรับคำสั่งซื้อขายของระบบ (อ้างอิง2) ส่งผลให้เกิดแรงเทขายทำกำไร ทั้งของนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนรายย่อยในประเทศที่เข้ามาเก็งกำไร (อ้างอิง3) นอกจากนี้ตลาดหุ้นเวียดนามยังมีสัดส่วนของนักลงทุนรายย่อยในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ ทำให้มีความผันผวนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามยังแข็งแกร่ง น่าสนใจสำหรับนักลงทุนระยะยาว (อ้างอิง4)
Alphabet (บริษัทแม่ของ Google) เปิดเผยงานวิจัยที่มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI, artificial intelligence) ในการออกแบบ chip ซึ่งสามารถลดเวลาการออกแบบที่มนุษย์ใช้เวลาหลายเดือน ให้เหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยเทคนิคดังกล่าวกำลังถูกใช่ในการพัฒนา chip ประมวลผลรุ่นต่อไปของ Google เอง (อ้างอิง)
ความเชื่อว่าเงินเฟ้อที่ประกาศออกมาสูงในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเป็นสิ่งชั่วคราว รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากทั้ง Fed และ ECB ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญให้นักลงทุนคลายความกังวล และส่งผลให้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (bond yield) ของสหรัฐอเมริกา (อ้างอิง1) และยุโรป (อ้างอิง2) ปรับตัวลดลง เป็นปัจจัยหนุนให้หุ้นกลุ่ม growth และกลุ่ม defensive เช่น กลุ่มเทคโนโลยี (Info Tech) และกลุ่มกิจการทางการแพทย์ (Health Care) จะกลับมาทำผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นกลุ่ม cyclical
กองทุนที่ลงทุนในกลุ่มประเทศยุโรปยังน่าสนใจ จากการปรับประมาณการ GDP ขึ้น และ Forward PE โดยรวมที่ยังต่ำ
นักลงทุนที่สนใจกองทุนหุ้นเวียดนามในระยะยาวสามารถพิจารณาทยอยสะสม ตามจังหวะความผันผวนที่เกิดขึ้นเป็นระยะ