เขียนเมื่อ: 04 July 2021
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และเวียดนามปรับตัวขึ้นโดดเด่น โดย Dow Jones +1.02%, S&P500 +1.67%, NASDAQ +1.94%, EU STOXX 600 -0.18% (ยุโรป), CSI300 -3.03% (จีน), TOPIX -0.32% (ญี่ปุ่น), SENSEX -0.83% (อินเดีย), VN100 +3.22% (เวียดนาม), SET -0.88%
ไวรัส Covid สายพันธุ์ Delta กระจายตัวมากขึ้น ขณะนี้มีการตรวจพบการระบาดแล้วใน 98 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนให้ผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลกเร่งอัตราการฉีดวัคซีนให้เร็วขึ้น และให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนประเภท mRNA เพิ่มการผลิตและถ่ายทอดความรู้ เนื่องจากผู้ที่ได้รับวัคซีน Covid แล้วมีอัตราการติดเชื้อที่ต่ำกว่าผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน (อ้างอิง1, อ้างอิง2, อ้างอิง3)
Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐอเมริกา และยุโรป ยังปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดหุ้นฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และน่าจะยังมี momentum ที่จะไปต่อเนื่องอัตราการจ้างงานของสหรัฐฯ ยังห่างจากเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ทำให้ Fed น่าจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในปีนี้ (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
อย่างไรก็ตาม Fed อาจลดการกระตุ้นเร็วกว่าที่คาดในระยะกลาง โดยอาจเริ่มที่การลดวงเงินซื้อพันธบัตรประเภท mortgage backed securities (MBS) ก่อน และมีโอกาสจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช่วงปลายปี 2022 หรือ ต้น 2023 ภายหลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตดี โดยเฉพาะหากนโยบายการใช้จ่ายภาครัฐของประธานาธิบดี Joe Biden ผ่านสภาได้ตามแผน ทำให้ IMF ประกาศเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็น 7% เป็นการเติบโตที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 1984 (อ้างอิง1, อ้างอิง2, อ้างอิง3)
สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดงานเฉลิมฉลองครับ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (China Communist Party, CCP) โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศความสำเร็จของเป้าหมายในการทำให้เศรษฐกิจจีนเติบโต และประกาศเป้าหมายต่อไป ว่าจะทำให้จีน เป็นประเทศสงคมนิยมสมัยใหม่ที่ยอดเยี่ยม (We are now marching in confident strides toward the second centenary goal of building China into a ‘great modern socialist country’ in all respects) อย่างไรก็ตามมีความน่ากังวลในเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจตะวันตก โดยประธานาธิบดี Xi กล่าวว่าจีนจะไม่ยอมให้ประเทศเหล่านั้นเข้ามากดดัน หรือชี้นำการดำเนินนโยบายของจีน ภายหลังจากจีนถูกกดดันและวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการดำเนินนโยบายที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงประเด็นความขัดแย้งกับไต้หวัน ฮ่องกง และประชากรในเขตธิเบต และ Xinjiang (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ตลาดจีนร่วงแรงเมื่อวันศุกร์ โดยดัชนี China A50 ร่วงลง -3.54% และดัชนี CSI300 ร่วงลง -2.84% ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนเทขาย มีสองสมมติฐาน คือ ท่าทีแข็งกร้าวต่อกลุ่มประเทศตะวันตกที่จีนประกาศในงานฉลอง 100 ปี พรรคคอมมิวสิสต์จีน และ การชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจฝั่งภาคการผลิตและการบริการ อย่างไรก็ตามทั้งสองปัจจัยไม่ได้มีผลต่อคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจจีนในระยะยาว อาจเป็นจังหวะน่าลงทุนสำหรับผู้สนใจ (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น ภายหลังกลุ่ม OPEC+ มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตอีกวันละ 400,000 บาร์เรล/วัน ในช่วงเดือน สิงหาคม ถึง ธันวาคม น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ที่อย่างน้อย 500,000 บาร์เรล/วัน โดยก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์จาก OPEC ว่าความต้องการน้ำมันในครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้นอีก 5 ล้าน บาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตามต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการ เนื่องจากการประชุมยังไม่ยุติ (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ภูเก็ต sandbox เริ่มแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแล้วประมาณ 1000 คน นับจนถึงวันเสาร์ โดยโปรแกรมคล้ายๆ กันที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีน Covid ครบแล้ว เดินทางเข้ามาและท่องเที่ยวในพื้นที่ได้โดยไม่ต้องกักตัว จะเปิดเพิ่มอีกบนเกาะสมุย เกาะเต่า และเกาะพะงัน ในวันที่ 15 กรกฎาคม (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
เงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ Covid ที่ยังควบคุมไม่ได้ และความล่าช้าในการฉีดวัคซีน รวมถึงมาตรการ lockdown ต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งปัจจุบัน ประเทศเศรษฐกิจหลักในกลุ่มนี้ อย่างไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีจำนวนประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วไม่ถึง 10% (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ตลาดหุ้นเวียดนามไม่แคร์เพื่อนบ้าน ปรับตัวขึ้น ทำจุดสูงสุดอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีรายงานผู้ติดเชื้อ Covid เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง น่าจะมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่สูงถึง 6.6% ใน 2021Q2 อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลอีกมาก ทำให้ธนาคารกลางของเวียดนามยังสามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ต่อไป (อ้างอิง)
หุ้นจีนขนาดใหญ่ ทั้ง Technology และ All China น่าสนใจหลังจากปรับตัวลงตั้งแต่ต้นปีจากแรงกดดันด้านนโยบายภาครัฐ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้แข็งแกร่ง โดยตอนนี้มีปัจจัยทางเทคนิคมาเสริมว่าน่าสะสมสำหรับนักลงทุนระยะยาว และเป็นจังหวะเก็งกำไรสำหรับนักลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ที่หุ้นจีนปรับตัวลงมากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อ่านเพิ่มเติมที่ FINNOMENA Tactical Call: จังหวะลงทุนเมื่อ All China ยก low พร้อมยืนเหนือเส้น 200 วัน
หุ้น growth โดยเฉพาะฝั่งอเมริกายังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่า Fed จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างกะทันหัน, ผู้ชื่นชอบกองทุนหุ้น growth สะสมได้ ทั้งแบบมั่นคง (TMBGQG), แบบเติบโต (ONE-UGG-RA, KF-US), และแบบสายซิ่ง (TMB-ES-INTERNET)
เวียดนามยังเดินหน้าทำ new high อย่างต่อเนื่อง ไม่สนใจแม้แต่สถานการณ์ Covid ในประเทศ สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนในการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ซึ่งมีแนวโน้มจะดีขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนที่สนใจสามารถอ่านบทความจาก Finnomena รีวิวกองทุนเวียดนาม ครบจบในที่เดียว! และพิจารณาทยอยสะสม