สรุปประเด็นการลงทุน
ก่อนสัปดาห์วันที่ 30 สิงหาคม - 3 กันยายน 2564

เขียนเมื่อ: 29 August 2021

ประเด็นน่าสนใจ

  1. ตลาดโดยรวมปิดบวก หลังความกังวลด้านนโยบายคลี่คลายลง โดย Dow Jones +0.96%, S&P500 +1.52%, NASDAQ +2.82%, EU STOXX 600 +0.74% (ยุโรป), CSI300 +1.21% (จีน), TOPIX +2.56% (ญี่ปุ่น), SENSEX +1.44% (อินเดีย), VN100 -1.79% (เวียดนาม), SET +3.74%

  2. ยอดติดเชื้อผู้ป่วย Covid ในไทยลดลงต่ำกว่า 20,000 คน/วัน ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยอดผู้เสียชีวิตรายวันยังทรงตัวอยู่ใกล้ระดับสูงสุด โดยยอดผู้ติดเชื้อที่ลดลง ประกอบกับการฉีดวัคซีนที่รวดเร็วขึ้น แตะระดับ 900,000 โดส/วัน ทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ประกาศเตรียมผ่อนคลายมาตรการควบคุมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้กิจการบางประเภทกลับมาเปิดให้บริการได้ เริ่มวันที่ 1 กันยายน 2564 (อ้างอิง1, อ้างอิง2)

  3. คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือเอฟดีเอ (FDA) อนุมัติการใช้วัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer อย่างเป็นทางการ เป็นการรับรองความปลอดภัยในระดับสูง ทำให้จากนี้หน่วยงานต่างๆ จะสามารถออกมาตรการบังคับให้คนที่ยังลังเลเข้ากระบวนการฉีดวัคซีนได้ เป็นอีกปัจจัยหนุนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนผลกับประเทศไทย ณ ตอนนี้วัคซีน Pfizer ยังขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น แต่บริษัท Pfizer สามารถนำข้อมูลมายื่นเพิ่มเติมเพื่อขึ้นทะเบียนแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งจะสามารถทำให้วัคซีนไฟเซอร์สามารถซื้อขายได้ทั่วไปโดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานของรัฐ (อ้างอิง1, อ้างอิง2)

  4. Jerome Powell ประธานธนาคารสหรัฐอเมริกา (Fed) กล่าวคำแถลงการณ์ ถึงแนวโน้มที่จะทยอยลดเงินอัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจในปีนี้ อย่างไรก็ตาม Fed จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อไป ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับเป้าหมายที่ต้องการแล้ว เนื่องจากอัตราการจ้างงานยังต่ำกว่าระดับการฟื้นตัวที่ Fed ตั้งเป้าไว้ (อ้างอิง1, อ้างอิง2)

  5. การสื่อสารของ Fed ที่จะไม่ลดการใช้นโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจแบบกะทันหัน ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดทุน โดย 3 ดัชนีหลักของสหรัฐ ทั้ง Dow Jones, S&P500, และ Nasdaq ปิดบวก หลัง Fed แถลงการณ์ มีแนวโน้มว่าภาพรวมตลาดทุนฝั่งประเทศพัฒนาแล้วจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในครึ่งปีหลัง (อ้างอิง1, อ้างอิง2, อ้างอิง3)

  6. กลับมาดูฝั่งจีน โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ต่างๆ ที่พยายามปรับตัว เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของรัฐบาล เช่น การบริจาคกำไร หรือเพิ่มงบประมาณโครงการเพื่อสังคม เป็นผลให้มีความเสี่ยงด้านราคาในระยะสั้น เนื่องจากกองทุนต่างๆ อาจต้องปรับวิธีประเมินมูลค่า อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการกองทุนหุ้นจีนหลายท่านยังมองว่าหุ้นจีนยังน่าลงทุนในระยะยาว (อ้างอิง1, อ้างอิง2, อ้างอิง3)

  7. สถานการณ์ Covid ในเวียดนามดูแย่ลง แม้มีมาตรการ lockdown อย่างเข้มงวดใน ล่าสุดตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันสูงกว่า 15,000 คน/วัน เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา และน่าจะต่อเนื่องไปอีกในระยะสั้น อย่างไรก็ตามเวียดนามได้รับความช่วยเหลือด้านวัคซีนจากทั้ง อเมริกา, จีน, อิตาลี, และโรมาเนีย ซึ่งน่าจะช่วยเร่งการฉีดวัคซีนได้ ที่น่าสนใจคือ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Kamala Harris ยังไปเยือนเวียดนามตามกำหนดการ เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มว่าเวียดนามจะเป็นคู่ค้าที่สำคัญของสหรัฐฯ และจะขยายยอดการส่งออกได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต (อ้างอิง1, อ้างอิง2)

การลงทุนน่าสนใจ (ไม่ใช่การเชิญชวนให้ลงทุน)

  1. การลงทุนฝั่งประเทศพัฒนาแล้วยังมี momentum ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Fed ไม่ได้ปรับมาตรการที่ทำให้นักลงทุนตกใจ
    แม้ตลาดอาจมีการปรับฐานบ้าง แต่ Fund House อย่าง Franklin Templeton เชื่อว่าตอนนี้ยังอยู่ในช่วงต้นของวัฏจักรตลาดขาขึ้น ภายหลังเศรษฐกิจถดถอย
    บทความ Finnomena X Franklin Templeton
    นักลงทุนอาจพิจารณากองทุนที่ลงทุนในบริษัทที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่มีความได้เปรียบทางด้านผลิตภัณฑ์และฐานผู้ใช้
    กองทุนเด่น เช่น
    TMBGQG ลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ ที่เติบโตมั่นคงทั่วโลก,
    KFHTECH-A ลงทุนในหุ้นบริษัทเทคโนโลยีที่มีการเติบโตโดดเด่น,
    B-INNOTECH ลงทุนในหุ้นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ด้านความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี

  2. ตลาดหุ้นเวียดนามยังโดนกดดันจากยอดผู้ติดเชื้อโควิดที่สูงขึ้น และน่าจะมีผลกดดันต่อไปในระยะสั้น
    อย่างไรก็ตามท่าทีของสหรัฐฯ ที่ให้ความสำคัญกับเวียดนาม เพิ่มความมั่นใจว่าภาคการส่งออกของเวียดนามจะขยายตัวได้ดีในระยะยาว
    นักลงทุนที่ชอบอาจพิจารณาทยอยสะสม หรือรอจังหวะเข้าลงทุนเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น
    กองทุนเด่น เช่น
    PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนเวียดนามในไทยที่มีผลตอบแทนโดดเด่นที่สุดรอบปีที่ผ่านมา

-ขอให้มีความสุขกับการลงทุนครับ

ALL NEWS