สรุปประเด็นการลงทุน
ก่อนสัปดาห์วันที่ 6 - 10 กันยายน 2564

เขียนเมื่อ: 05 September 2021

ประเด็นน่าสนใจ

  1. ตลาดหุ้นทั่วโลกยังรักษาแนวโน้มขาขึ้น โดย Dow Jones -0.24%, S&P500 +0.58%, NASDAQ +1.55%, EU STOXX 600 -0.09% (ยุโรป), CSI300 +0.33% (จีน), TOPIX +4.49% (ญี่ปุ่น), SENSEX +3.57% (อินเดีย), VN100 +1.14% (เวียดนาม), SET +2.43%

  2. ยอดติดเชื้อผู้ป่วย Covid ในไทยมีแนวโน้มดีขึ้น โดยค่อยๆ ปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับประมาณ 15,000 คน/วัน นอกจากนั้นยังเริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายการควบคุมสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา

  3. สถานการณ์การระบาดของ Covid ที่ลดลง และการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพขึ้น รวมถึงแรงกดดันการลงทุนไนประเทศเอเชียอื่นๆ โดยเฉพาะจีน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อหุ้นไทย โดยในช่วงวันที่ 1-3 กันยายน มียอดซื้อสุทธิจากนักลงทุนต่าง 3,908 ล้านบาท หลังจากขายสุทธิมาต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว

  4. นักลงทุนต่างชาติเริ่มแสดงความกังวล ในประเด็นที่บริษัทจีนขนาดใหญ่ เริ่มประกาศแผนการที่จะใช้เงินทุนของบริษัททำโครงการเพื่อสนับสนุนเป้าหมาย common prosperity ของรัฐบาลจีน ล่าสุด Alibaba ประกาศว่าจะใช้เงินทุน 15.5 พันล้าน USD สำหรับจุดประสงค์นี้ ครอบคลุมระยะเวลาจนถึงปี 2025 โดยก่อนหน้านี้ Tencent และ Pinduoduo ก็มีการประกาศแผนการคล้ายๆ กัน สร้างความกังวลให้นักลงทุนว่ามาตรการของรัฐบาลจีน ทำให้บริษัทเหล่านี้ไม่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ และอาจมีการประกาศแผนการที่จะนำเงินทุนไปใช้ในโครงการแบบนี้อีกในอนาคต (อ้างอิง1, อ้างอิง2, อ้างอิง3)

  5. ตลาดหุ้นสหรัฐชะลอตัวลงเนื่องจากตัวเลขการจ้างงานเพิ่มต่ำกว่าที่คาดการณ์ คาดว่าได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid สายพันธุ์ใหม่ ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ดัชนีอย่าง NASDAQ ยังปรับตัวขึ้นได้ดีกว่า ดัชนี Dow Jones และ S&P500 สะท้อนความเชื่อมั่นว่าบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีที่มีผลการดำเนินงานแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมาจะสามารถรักษาผลประกอบการที่ดีไว้ได้ต่อไป (อ้างอิง)

  6. ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นโดดเด่นในสับดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ nikkei225 ปรับตัวบวกอีก 2% หลังนายกรัฐมนตรี Yoshihide Suga ออกมาประกาศจะไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคในการเลือกตั้งเดือนนี้ เท่ากับว่าจะเปิดทางให้ผู้อื่นมาดำรงแทน ภายหลังผลสำรวจความเชื่อมั่นตกต่ำ และถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการรับมือกับ Covid อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายแห่งมองว่าญี่ปุ่นจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจภายหลังได้ผู้นำคนใหม่ (อ้างอิง1, อ้างอิง2, อ้างอิง3)

การลงทุนน่าสนใจ (ไม่ใช่การเชิญชวนให้ลงทุน)

  1. นักลงทุนยังเชื่อมั่นการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะบริษัทผู้นำกลุ่มเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มผลประกอบการดีต่อเนื่อง
    นักลงทุนอาจพิจารณากองทุนที่ลงทุนในบริษัทที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่มีความได้เปรียบทางด้านผลิตภัณฑ์และฐานผู้ใช้
    กองทุนเด่น เช่น
    TMBGQG ลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ ที่เติบโตมั่นคงทั่วโลก,
    KFHTECH-A ลงทุนในหุ้นบริษัทเทคโนโลยีที่มีการเติบโตโดดเด่น,
    B-INNOTECH ลงทุนในหุ้นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ด้านความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี
    นอกจากนี้ ผู้ที่ชอบกอง passive อาจพิจารณา
    K-USXNDQ-A(A) หรือ SCBNDQ โดยทั้งสองกองทุนลงทุนตามดัชนี Nasdaq-100 ที่ไม่รวมกลุ่มสถาบันการเงิน

  2. ตลาดหุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจในแง่ valuation ซึ่งมีประเด็นที่จะมีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีมาเสริมพอดี ทำให้ได้รับความสนใจมากขึ้นในระยะสั้น
    โดยในภาพรวม ทีมงาน Finnomena เคยนำเสนอไว้ในช่วง 1-2 อาทิตย์ที่ผ่านมาว่าดัชนี Nikkei225 ของญี่ปุ่นมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนี S&P500 ของสหรัฐ แต่มีการปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้นเร็วกว่า
    นักลงทุนอาจพิจารณาลงทุนในระยะสั้น-กลาง
    กองทุนเด่น เช่น
    K-JPX ลงทุนแบบ passive ตามดัชนี TOPIX ที่แสดงภาพรวมของตลาดหุ้นญี่ปุ่น
    SCBNK225 ลงทุนแบบ passive ตามดัชนี Nikkei225 ที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของบริษัทขนาดใหญ่
    KF-HJAPAND ลงทุนแบบ active โดยไม่ยึดติดกับดัชนีเน้นการสร้างผลตอบแทนรวมที่ดี

-ขอให้มีความสุขกับการลงทุนครับ

ALL NEWS