เขียนเมื่อ: 26 September 2021
การเคลื่อนไหวรอบสัปดาห์ Dow Jones +0.62%, S&P500 +0.51%, NASDAQ +0.02%, EU STOXX 600 +0.32% (ยุโรป), CSI300 -0.13% (จีน), TOPIX -0.45% (ญี่ปุ่น), SENSEX +1.75% (อินเดีย), VN100 +0.12% (เวียดนาม), SET +0.34%
ความกังวลของนักลงทุนคลี่คลายอย่างรวดเร็ว ภายหลังตลาดปรับตัวลงในช่วงต้นสัปดาห์ จากความกังวลเรื่องแนวทางการลดขนาด QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และ การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทใหญ่ในจีน (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
Fed เปิดเผยว่าตอนนี้ยังไม่มีการตัดสินใจลดการกระตุ้น จนกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจจะเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามไม่มีการประกาศเป้าหมายเป็นตัวเลขตายตัว นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการลดขนาดวงเงิน QE น่าจะเริ่มต้นก่อนสิ้นปีนี้ และมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า โดยท่าทีของ Fed ดูไม่ต้องการสร้างความตกใจในตลาดหุ้น ทำให้นักลงทุนยังมองว่าหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่น่าลงทุนในช่วงนี้ (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ความกังวลเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของ Evergrande บริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของจีน ลดลงอย่างรวดเร็ว ภายหลังนักลงทุนตระหนักว่าผลกระทบจะไม่ร้ายแรง เหมือนวิกฤติตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Subprime Crisis ปี 2008 เนื่องจากผลกระทบไม่เชื่อมโยงซับซ้อน และรัฐบาลจีนน่าจะให้ความช่วยเหลือหากสถานการณ์มีแนวโน้มจะลุกลาม (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ไม่พูดถึงไม่ได้ กับการประกาศปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ของ SCB ที่จะเปลี่ยนตัวเองไปเป็น Holding company ภายใต้ชื่อ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) เพื่อขยายขอบเขตธุรกิจให้กว้างขึ้น โดยเมื่อปรับโครงสร้างแล้วจะแบ่งธุรกิจเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ และ กลุ่ม New Growth โดยตั้งเป้าเป็นบริษัทเทคโนโลยีการเงินระดับภูมิภาค ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสุดท้ายแล้ว SCB จะถอนหุ้นออกจากตลาด และจะมีการจดทะเบียน SCBX แทนเพื่อประโยชน์ของท่าน นักลงทุนที่ถือหุ้นของ SCB อย่าลืมไปอ่าน timeline การแปลงหุ้นนะครับ (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
ไม่ได้พูดถึงมาระยะหนึ่ง สำหรับตลาดหุ้นเวียดนาม ที่สถานการณ์การแพราระบาดของ Covid มีแนวโน้มดีขึ้น และเริ่มผ่อนคลายมาตรการ lockdown แล้ว โดยดัชนีตลาดหุ้นค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
มุมมองการลงทุนระยะยาวในจีนยังคงเป็นบวก หลังแสดงให้เห็นว่าสามารถควบคุมความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจได้ดี
ดังนั้น นักลงทุนที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในจีนสามารถใช้โอกาสความผันผวนระยะสั้นในช่วงนี้สะสมเพิ่ม
แต่นักลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในจีนตามที่ต้องการแล้ว ยังไม่แนะนำให้เพิ่ม เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่รัฐจะการควบคุมไม่ให้บริษัทยักษ์ใหญ่ดำเนินธุรกิจผูกขาดมากเกินไป
กองทุนเด่น เช่น
K-CHINA-A(A) ลงทุนในกลุ่ม All China ที่ครอบคลุมหุ้นจีนขนาดใหญ่ในทุกตลาดทั่วโลก,
KT-ASHARES-A ลงทุนในหุ้นบริษัทจีนที่จดทะเบียนในประเทศจีน (A-Shares),
WE-CHIG ลงทุนในหุ้นบริษัทจีนขนาดเล็ก-กลาง ที่มีโอกาสเติบโตสูง ไปพร้อมกับการบริโภคในประเทศจีน
สถานการณ์ Covid ที่คลี่คลายลงในเวียดนาม เป็นจังหวะน่าสะสมเพิ่มสำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนในประเทศผู้ส่งออกสำคัญรายนี้
โดยประมาณการณ์การส่งออกยังแข็งแกร่ง และเป็นเป้าหมายการย้ายฐานการผลิตจากหลายประเทศ
กองทุนเด่น เช่น
PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนเวียดนามในไทยที่มีผลตอบแทนโดดเด่นที่สุดรอบปีที่ผ่านมา
แนะนำกันมายาวนาน สำหรับการสะสมกองทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ที่มีการเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง
รวมถึงกองทุนกลุ่ม healthcare ที่ผลประกอบการมั่นคง เนื่องจากจะได้รับผลกระทบน้อยหากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตอนนี้ก็ยังสะสมต่อเนื่องได้เลย
กองทุนเด่น ฝั่ง tech เช่น
TMBGQG ลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ ที่เติบโตมั่นคงทั่วโลก,
KFHTECH-A ลงทุนในหุ้นบริษัทเทคโนโลยีที่มีการเติบโตโดดเด่น,
B-INNOTECH ลงทุนในหุ้นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ด้านความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ผู้ที่ชอบกอง passive อาจพิจารณา
K-USXNDQ-A(A) หรือ
SCBNDQ โดยทั้งสองกองทุนลงทุนตามดัชนี Nasdaq-100 ที่ไม่รวมกลุ่มสถาบันการเงิน
กองทุนเด่น ฝั่ง healthcare เช่น
BCARE กองทุน healthcare ยอดนิยมของไทย ที่เน้นลงทุนในบริษัทนวัตกรรมทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพ,
KFHHCARE-A เน้นลงทุนในบริษัทกลุ่ม quality และ defensive โดยหลีกเลี่ยงหุ้นที่มูลค่าสูงเกินจริง,
KT-HEALTHCARE-A ผสมผสานบริษัทกลุ่ม defensive เช่น ยา และอุปกรณ์การแพทย์ กับกลุ่ม biotechnology ที่ช่วยสร้างการเติบโต