เขียนเมื่อ: 10 October 2021
การเคลื่อนไหวรอบสัปดาห์ Dow Jones +1.22%, S&P500 +0.79%, NASDAQ +0.09%, EU STOXX 600 +1.02% (ยุโรป), CSI300 +1.31% (จีน), TOPIX -1.23% (ญี่ปุ่น), SENSEX +2.20% (อินเดีย), VN100 +2.48% (เวียดนาม), SET +2.13%
ภาพรวมดัชนีตลาดหุ้นหลักปรับตัวบวกในช่วงปลายอาทิตย์ ภายหลังรัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมอนุมัติขยายเพดานหนี้ระยะสั้นฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ ระหว่างรอการลงมติขยายเพดานนี้อย่างเป็นทางการ ลดความกังวลระยะสั้นให้นักลงทุน อย่างน้อยจนถึงต้นเดือนธันวาคม (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงยังคงมีอยู่ แม้หลายผ่ายเชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะสามารถผ่านนโยบายขยายเพดานหนี้ เพื่อรักษาเถียรภาพทางเศรษฐกิจ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ จะเกิดการผิดนัดชำระหนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวลงรุนแรง (อ้างอิง)
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ ภายหลังหยุดยาวไปตั้งแต่ต้นเดือน โดยดัชนีกิจกรรมภาคบริการปรับตัวอยู่ในระดับขยายตัว นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่ประธานาธิบดี Xi Jinping และ ประธานาธิบดี Joe Biden จะได้พบปะพูดคุยกันช่วงปลายปีนี้ ซึ่งหลายผ่ายหวังว่าจะช่วยลดประเด็นความขัดแย้ง และการกีดกันทางการค้าระหว่างสองประเทศ (อ้างอิง1, อ้างอิง2)
น้ำมันยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น หลังความต้องการบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรมีโอกาสที่การปรับตัวขึ้นของราคาจะเริ่มชะลอลง โดย OPEC อาจจะเพิ่มอัตราผลิตในการประชุมต้นเดือนพฤษจิกายน เนื่องจากอัตราในปัจจุบันยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย นอกจากนั้นสหรัฐฯ ก็ยังมีน้ำมันสำรองที่สามารถนำออกมาใช้ เพื่อลดต้นทุนน้ำมันในประเทศ อีกปัจจัยที่จะช่วยลดการบริโภคน้ำมันมาจากการที่รัสเซียจะเพิ่มปริมาณส่งออก natural gas ไปสู่ยุโรปให้มากขึ้น (อ้างอิง)
ผิดคาดกับดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น ที่ปรับตัวลงเกือบ 10% จากจุดสูงสุดสามสัปดาห์ก่อนหน้า ภายหลังรับรู้ว่า Fumio Kishida ได้รับเลือกเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เนื่องจากความกังวลเรื่องนโยบายสร้างความเท่าเทียมของรายได้ ที่แม้จะยังไม่ประกาศชัด แต่มีโอกาสสนับสนุนการขึ้นค่าจ้าง และการปรับขึ้นภาษีกำไรจากการลงทุน (capital gain tax) อย่างไรก็ตามปัจจัยด้าน valuation ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังน่าสนใจ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่รัฐบาลใหม่ และการเปิดเมืองหลัง Covid จะช่วยให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตได้ดี (อ้างอิง)
เพื่อไม่ให้พลาดการเติบโตระยะยาว และมั่นคงพอที่จะฝ่าวิกฤติการผิดนัดชำระหนี้สหรัฐฯ (ถึงแม้โอกาสน้อย)
เรายังมองไปที่กลุ่มผู้นำด้าน technology และ healthcare ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน และมีผลกำไรแข็งแกร่ง
กองทุนเด่น ฝั่ง tech เช่น
TMBGQG ลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ ที่เติบโตมั่นคงทั่วโลก,
KFHTECH-A ลงทุนในหุ้นบริษัทเทคโนโลยีที่มีการเติบโตโดดเด่น,
B-INNOTECH ลงทุนในหุ้นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ด้านความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี
กองทุนเด่น ฝั่ง healthcare เช่น
BCARE กองทุน healthcare ยอดนิยมของไทย ที่เน้นลงทุนในบริษัทนวัตกรรมทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีวภาพ,
KFHHCARE-A เน้นลงทุนในบริษัทกลุ่ม quality และ defensive โดยหลีกเลี่ยงหุ้นที่มูลค่าสูงเกินจริง,
KT-HEALTHCARE-A ผสมผสานบริษัทกลุ่ม defensive เช่น ยา และอุปกรณ์การแพทย์ กับกลุ่ม biotechnology ที่ช่วยสร้างการเติบโต
ญี่ปุ่นยังน่าสนใจ การปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมาจาก surprise เรื่องว่าที่นายกฯ และนโยบายที่เน้นความเท่าเทียมน่าจะเป็นผลระยะสั้น
นักวิเคราะห์เชื่อว่าปัจจัยบวกระยะกลาง-ยาว ยังมีน้ำหนักมากกว่า ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่กำลังจะมาเมื่อจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อย, แนวโน้มกำไรที่แข็งแกร่ง, การเปิดเมือง, และ valuation ที่ยังไม่แพง
กองทุนเด่น เช่น
K-JPX ลงทุนแบบ passive ตามดัชนี TOPIX ที่แสดงภาพรวมของตลาดหุ้นญี่ปุ่น
SCBNK225 ลงทุนแบบ passive ตามดัชนี Nikkei225 ที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของบริษัทขนาดใหญ่
KF-HJAPAND ลงทุนแบบ active โดยไม่ยึดติดกับดัชนีเน้นการสร้างผลตอบแทนรวมที่ดี
จีนกลับมาอย่างสดใส ภายหลังหยุดยาว ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแสดงการขยายตัว นอกจากนั้นการเติบโตระยะยาวก็ยังดีอยู่
รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่หลายตัวใน Hang Seng มีราคาปรับตัวขึ้นมากพร้อม volume ที่สูงกว่าปกติช่วงปลายอาทิตย์ที่ผ่านมา
เป็นสัญญาณว่าบริษัทจัดการกองทุน หรือ hedge fund ต่างๆ กลับมาให้ความสนใจ
กองทุนเด่น เช่น
K-CHINA-A(A) ลงทุนในกลุ่ม All China ที่ครอบคลุมหุ้นจีนขนาดใหญ่ในทุกตลาดทั่วโลก,
KT-ASHARES-A ลงทุนในหุ้นบริษัทจีนที่จดทะเบียนในประเทศจีน (A-Shares),
WE-CHIG ลงทุนในหุ้นบริษัทจีนขนาดเล็ก-กลาง ที่มีโอกาสเติบโตสูง ไปพร้อมกับการบริโภคในประเทศจีน