เขียนเมื่อ: 12 February 2022
การเคลื่อนไหวรอบสัปดาห์ Dow Jones -1.00%, S&P500 -1.82%, NASDAQ -2.18%, EU STOXX 600 +1.61% (ยุโรป), CSI300 +0.82% (จีน), TOPIX +1.66% (ญี่ปุ่น), SENSEX -0.84% (อินเดีย), VN100 +1.35% (เวียดนาม), SET +1.49%
ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวลงแรงวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ หลังภาพรวมดูดีขึ้นมาสองสัปดาห์
สาเหตุจากความกังวลตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังสูงกว่าคาดการณ์ที่ออกมาเมื่อวันพฤหัสบดี จนเจ้าหน้าที่ระดับบริหารธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) บางท่านออกมาแสดงท่าทีว่าต้องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์
นอกจากนั้นเมื่อวันศุกร์ ทางการสหรัฐฯ ยังแสดงความกังวลเพิ่มขึ้นว่ารัสเซียอาจจะส่งกำลังทหารเข้าไปบุกรุกยูเครนในเร็วๆ นี้
(อ้างอิง1,
อ้างอิง2,
อ้างอิง3)
ความตึงเครียดบริเวณเขตแดนรัสเซีย-ยูเครน ยังส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวไปแตะ $95 แล้วก่อน และมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อไป จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่น่าจะยังคลุมเครือไปอีกระยะ (อ้างอิง)
นอกจากน้ำมันแล้ว สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำก็ปรับตัวขึ้นจากความกังวลเรื่องสงครามเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า ราคาทองคำอาจขึ้นไปทะลุระดับ $1900/ounce เลยทีเดียว หากสงครามเกิดขึ้นจริง (อ้างอิง)
ความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอาทิตย์ที่จะถึง อาจเป็นโอกาสดีสำหรับนักลงทุนระยะยาว เนื่องจากในแง่ความเป็นไปได้แล้ว Fed จะไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป และยังมีโอกาสลดความเร็วในการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด หากตลาดทุนผันผวนรุนแรงจนเกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนั้น ความกังวลว่าความตึงเครียดบริเวณเขตแดนรัสเซีย-ยูเครนจะนำไปสู่ทำให้เกิดการรบกันระหว่างชาติมหาอำนาจนั้น ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีฝ่ายไหนเลยที่จะได้ประโยชน์อย่างชัดเจน หากมีสงครามจากเรื่องนี้
(อ้างอิง1,
อ้างอิง2)
ทางฝั่งจีนที่นักลงทุนไทยจำนวนมากยังรอคอยให้มีข่าวดี เริ่มมีความหวังมากขึ้นต่อจากนี้
โดยนักวิเคราะห์มองว่าจีนจะเพิ่มความสำคัญในการรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจ ภายหลังเติบโตน้อยกว่าที่คาดการณ์ในระยะหลัง ดังนั้น มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายการคุมเข้มด้านการผูกขาดของบริษัทขนาดใหญ่ลง
และยังมีสัญญาณบวกอื่นๆ เช่น ให้เวลาอุตสาหกรรมเหล็กมากขึ้นในการปรับปรุงระบบการผลิตให้ลดการปล่อยมลภาวะ และกองทุนรัฐบาลจีนเริ่มเข้ามาซื้อสินทรัพย์ในตลาดหุ้นเพื่อพยุงระบบตลาดทุนในประเทศ
(อ้างอิง1,
อ้างอิง2,
อ้างอิง3)
ความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ข้างหน้า จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และความตึงเครียดบริเวณเขตแดนรัสเซีย-ยูเครน ยังน่าจะมีต่อไปอีกระยะ
อย่างไรก็ตามปัจจัยระยะสั้นเหล่านี้ไม่มีผลต่อการถือครองบริษัทที่มีคุณภาพในระยะยาว เรายังแนะนำกองทุนที่ลงทุนในบริษัทชั้นนำที่แข็งแกร่งและมีผลิตภัณฑ์โดดเด่น
สามารถทยอยสะสมได้
กองทุนเด่น เช่น
TMBGQG ลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ ที่เติบโตมั่นคงทั่วโลก,
B-INNOTECH ลงทุนในหุ้นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ด้านความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยี
ตลาด Emerging Markets แสดงให้เห็นว่าได้รับผลกระทบจากความผันผวนจากความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยและความขัดแย้งของชาติตะวันตกน้อยกว่า
อาจยังไม่มีข่าวดีที่จะมากระตุ้นตลาดครั้งใหญ่ แต่การที่กองทุนรัฐบาลจีนเริ่มเข้ามาซื้อสินทรัพย์ในตลาดหุ้นก็แสดงให้เห็นว่าตลาดอยู่ในระดับราคาที่ไม่แพง
น่าสะสมสำหรับระยะยาว
กองทุนเด่น เช่น
PRINCIPAL APDI ลงทุนได้ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มุ่งลงทุนในบริษัทที่มีแนวโน้มในการเติบโตสูงเมื่อเทียบกับ ตลาดโดยรวม,
K-CHINA-A(A) ลงทุนในกลุ่ม All China ที่ครอบคลุมหุ้นจีนขนาดใหญ่ในทุกตลาดทั่วโลก,
PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนเวียดนามที่มีผลตอบแทนโดดเด่นมายาวนาน
สำหรับนักลงทุนที่ชอบกระจายการลงทุน โดยต้องการความสม่ำเสมอในการเติบโต และลดความผันผวนไปพร้อมๆ กัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลปรับพอร์ตให้สม่ำเสมอ
แนะนำให้ลองพิจารณาพอร์ตการลงทุนยอดนิยมอีกพอร์ตหนึ่งของ Finnomena อย่างพอร์ต All Weather Strategy ที่มีกูรูอย่าง ดร. Andrew Stotz เป็นผู้ดูแล